10 โปรแกรม ใช้ทําอินโฟกราฟฟิค แบบง่ายๆ บนเว็บไซต์ดัง ใช้ง่าย
10 โปรแกรม ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวล้ำไปไกล การเสพคอนเทนต์รูปแบบต่างๆ ด้วยอุปกรณ์มือถือก็สามารถทำได้ทุกรูปแบบและทุกที่ ผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เรียกได้ว่าก็แทบจะไม่มีข้อจำกัดใดๆ มากางกั้น ไม่ใช่เพียงแต่คอนเทนต์วิดีโอเท่านั้น เรายังมีเทคโนโลยี AR และ VR ที่ทำให้ visual experience ของผู้เสพคอนเทนต์ถูกยกไปอีกระดับ
ทำให้ในปัจจุบันการทำคอนเทนต์ในโลกออนไลน์สามารถผลิตเนื้อหาออกมาได้หลายประเภทมาก ไม่จำกัดว่าต้องเป็นรูปแบบข้อความหรือรูปไฟล์เล็กแบบเมื่อก่อนแล้ว ซึ่งนี่หมายถึงคอนเทนต์ในรูปแบบของรูปภาพอย่างการทำอินโฟกราฟฟิคนั้นได้ตกยุคไปแล้วหรือเปล่านะ?
อินโฟกราฟฟิคไม่ตกยุคง่ายๆ แน่ๆ ค่ะ เพราะยังเป็นคอนเทนต์ที่ย่อยง่ายและกระตุ้นให้เกิดการแชร์ในโซเชียลได้มาก และสำหรับผู้ประกอบการหรือผู้ที่ต้องการสร้าง Content ไว้แชร์ใน Social Media วันนี้จะมาแนะนำโปรแกรมออนไลน์หรือเว็บเครื่องมือสำหรับใช้ทำโปสเตอร์อินโฟกราฟฟิคแบบใช้งานง่ายๆ ไม่ต้องมีความรู้เรื่องการออกแบบมากมาย และใช้งานได้ฟรีกันค่ะ
1. Canva
Canva เป็นหนึ่งเครื่องมือออนไลน์ที่เป็นที่นิยมมากสำหรับใช้ทำงานดีไซน์และอินโฟกราฟฟิค เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องดีไซน์ เพราะใช้งานง่ายมาก แถมมีเทมเพลตให้เลือกมากมาย ไม่แค่เฉพาะสำหรับอินโฟกราฟฟิค แต่จะทำแบนเนอร์บนโซเชียล แบนเนอร์สำหรับ ads หรืออะไรก็มีเทมเพลตสำเร็จรูปให้เลือกใช้สรรมากมายไม่ซ้ำแบบ
ข้อสังเกต:
-มีคลังเทมเพลตให้เลือกหลายแบบ แยกประเภทออกเป็น Education, Process, Business, Timeline และ Charity
-มีรูปลิขสิทธิ์ CC0 ให้เลือกใช้เยอะ
-มีไอคอนและฟ้อนท์ฟรีเยอะ
-สามารถใช้งานง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่
-มีเทมเพลต แบบภาพ เคลื่อนไหวด้วย
-สร้างทีม เพื่อเพิ่มสมาชิกที่สามารถเข้าถึงไฟล์งานได้
ราคา:
ใช้งานได้ฟรี แต่บางฟีเจอร์ต้องอัปเกรดถึงจะใช้ได้
พวกรูป ไอคอน เวกเตอร์ที่สวยๆ โดยมากจะถูกล็อคไว้สำหรับบัญชีผู้ใช้แบบพรีเมียม หรือซื้อทีละชิ้นในราคา $1
ตัวเลือกในการอัปเกรด:
Canva Pro: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $12.95 ต่อเดือน | เลือกจ่ายแบบรายปีที่ $9.95 ต่อเดือน
มีฟีเจอร์พิเศษหลายอย่างเพิ่มเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขขนาดของ Canvas ได้ตามจะชอบ แม้ภายหลังจากที่เริ่มโปรเจคไปแล้ว การมี Brand Kit เป็นของตัวเอง ช่วยคุมโทนให้กับแบรนด์ของคุณ สามารถเข้าถึงคลังรูปภาพพรีเมียมได้ทั้งหมด สร้างพื้นหลังโปร่งใส่ได้
🔹 ใช้งานบนอุปกรณ์มือถือได้ | iOS, Android
2. Crello
Crello อาจจะไม่ได้เป็นที่นิยมเท่า Canva แต่ก็เป็นเครื่องมือออนไลน์ที่ใช้งานง่ายๆ บนเว็บด้วยลักษณะ Drag & Drop หรือก็คือการลากวางเช่นเดียวกัน ทำให้การดีไซน์รูปสำหรับโพสบนโซเชียลเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น โดย Crello เคลมว่าบนแพลตฟอร์มของ Crello นั้นมีเทมเพลตให้เลือกสรรมากมายกว่า 10,000+ เลยทีเดียว
ข้อสังเกต:
-สามารถใช้งานง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่
-มีเทมเพลตแบบภาพเคลื่อนไหวด้วย
ราคา:
ใช้ฟรี แต่บางฟีเจอร์ต้องอัปเกรดถึงจะใช้ได้
พวกรูป ไอคอน เวกเตอร์ที่สวยๆ โดยมากจะถูกล็อคไว้สำหรับบัญชีผู้ใช้แบบพรีเมียม หรือซื้อทีละชิ้นในราคา $0.99
ตัวเลือกในการอัปเกรด:
Crello Pro: $7.99 ต่อเดือน
มีฟีเจอร์พิเศษหลายอย่างเพิ่มเข้ามา สามารถเข้าถึงคลังรูปภาพพรีเมียมเทมเพลต รูปภาพ วิดีโอ และสร้างทีมได้
🔹 ใช้งานบนอุปกรณ์มือถือได้ | iOS, Android
3. Snappa
Snappa เป็นเครื่องมือที่ไม่กั๊กฟีเจอร์ใดๆ กับผู้ใช้ ผู้ใช้งานแบบฟรีสามารถใช้งานฟีเจอร์เท่าๆ กันกับผู้ใช้งานแบบเสียค่าใช้จ่าย เพียงแต่บัญชีผู้ใช้งานฟรีนั้นจะมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนครั้งที่สามารถ Export ไฟล์ออกมาได้
ข้อสังเกต:
– ฟีเจอร์ ครบครันทั้งบัญชีผู้ใช้งานแบบฟรีและแบบจ่ายเงิน
– จำกัดจำนวน การดาวน์โหลดไฟล์ออกมาของบัญชีฟรี เพียง 3 เดือนต่อครั้ง
– มีคลัง มีเดีย ฟรี ให้เลือกนำมาประกอบการใช้งาน
– สามารถ ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับ มือใหม่
ราคา:
ใช้ฟรี (Export ไฟล์ได้เพียง 3 เดือนต่อครั้ง)
ตัวเลือกในการอัปเกรด:
Pro: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $10 ต่อเดือน | เลือกจ่ายแบบรายปีที่ $15 ต่อเดือน
Team: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $20 ต่อเดือน | เลือกจ่ายแบบรายปีที่ $30 ต่อเดือน
4. Venngage
Venngage เป็นเครื่องมือที่คลายคลึงกับ Canva ตรงที่มีเทมเพลตให้เลือกหลายแบบ ไม่ว่าจะทำโปสเตอร์ ทำแบนเนอร์ ทำโปรโมชัน หรืออินโฟกราฟฟิค นอกจากนี้ในส่วนของเทมเพลตสำหรับอินโฟกราฟฟิค ยังมีเทมเพลตที่แยกตามประเภทของการจัดเรียงข้อมูลด้วย ดังนี้
แบบสถิติ (Statistical)
แบบให้ข้อมูล (Informational)
แบบเป็นขั้นตอน (Process)
แบบเปรียบเทียบ (Comparison)
แบบไทม์ไลน์ (Timeline)
แบบแผนภูมิศาสตร์ (Geographic)
แบบชาร์ต (Charts)
แบบการสอนแบบฮาวทู (Tutorial)
ข้อสังเกต:
-จำกัด จำนวน การดาวน์โหลดไฟล์ออกมาของบัญชีฟรีของนักเรียน
-มีการแยก ประเภทของอินโฟกราฟฟิคให้
-สามารถ ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่
-มีส่วนลด ให้สำหรับนักเรียน นักศึกษาและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
ราคา:
ใช้ฟรีสำหรับนักเรียน
ตัวเลือกในการอัปเกรด:
Premium: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $19 ต่อเดือน
Business: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $49 ต่อเดือน
5. Piktochart
Piktochart เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับใครที่กำลังมองหาเครื่องมือดีๆ ไว้ทำอินโฟกราฟฟิค Piktochart เว็บนี้มีเทมเพลตให้เลือกหลายขนาด ทั้งอินโฟกราฟฟิคขนาดยาว และแบบเลื่อน (slide) รวมทั้งสำหรับโปสเตอร์ด้วย เทมเพลตบางอันจะมีไว้สำหรับผู้ใช้แผนจ่ายเงินแบบ Lite หรือ Pro เท่านั้น
ข้อสังเกต:
– สามารถ ปรับขนาด Canvas ได้
-มี Photo Library และไอคอนให้เลือกใช้ฟรี
– สามารถ ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่
ราคา:
ใช้ฟรี แต่มีลายน้ำ
ตัวเลือกในการอัปเกรด:
Pro: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $24.17 ต่อเดือน
Pro Team: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $82.50 ต่อเดือน
6. easel.ly
easel.ly ช่วยให้มือใหม่สามารถทำอินโฟกราฟฟิคออกมาได้ง่ายดายจากหน้า Main page คล้ายคลึงกับ Venngage ตรงที่ในส่วนของเทมเพลตสำหรับอินโฟกราฟฟิค มีการแยกตามประเภทของการจัดเรียงข้อมูลด้วยของเทพเพลต ดังนี้
แบบเป็นขั้นตอน (Process)
แบบเปรียบเทียบ (Comparison)
แบบไทม์ไลน์ (Timeline)
ข้อสังเกต:
– ดาวน์โหลด ฟรี ไม่มีลายน้ำติดมา
– มีการแยก ประเภท ของ อินโฟกราฟฟิค ให้หลากหลายมาก
– สามารถ ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่และนักเรียน
– ราคา ของแผนแบบจ่ายเงินค่อนข้างย่อมเยาว์
– มีส่วนลด ให้นักเรียน
ราคา:
ใช้ฟรี
ตัวเลือกในการอัปเกรด:
Student: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $2 ต่อเดือน
Individual: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $4 ต่อเดือน
Business: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $5 ต่อเดือน
7. Visme
Visme คืออีกหนึ่งเว็บโปรแกรมที่ใช้งานได้ง่ายมาก และจะช่วยให้มือใหม่อย่างคุณสามารถสร้างอินโฟกราฟฟิคได้สวยงามตามต้องการ มีคลังของไอคอน เวคเตอร์ เทมเพลตให้เลือกมากมาย นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างชาร์ตและไดอะแกรมจากการกรอกรายละเอียดตัวเลขต่างๆ ได้อย่างสะดวกยิ่งกว่าเครื่องมือไหนๆ
ข้อสังเกต:
– มีลักษณะ เป็น Interactive Charts
– หาก อินโฟกราฟฟิค ยาว สามารถดาวน์โหลดออกมาเป็นบล็อคๆ ได้
– สามารถ ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่และนักเรียน
– มีส่วนลด ให้ครู-นักเรียน
ราคา:
ใช้ฟรี
ตัวเลือกในการอัปเกรด:
เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $39 ต่อเดือน
เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $25 ต่อปี
8. Infogram
Infogram เหมาะกับสำหรับการทำอินโฟกราฟฟิคที่ต้องใช้ตัวเลขเยอะๆ เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดการข้อมูลตัวเลขให้ออกมาเป็นชาร์ตได้อย่างสวยงาม แม้ว่าจะมีตัวเลือกเทมเพลตไม่มากนักก็ตาม
ข้อสังเกต:
– เหมาะ กับ สำหรับอินโฟ กราฟฟิค ที่เป็นข้อมูลเชิงสถิติ
– ไม่ค่อยมี เทมเพลต ให้เลือกเยอะ เมื่อเทียบกับเว็บโปรแกรมอื่นๆ
– เข้าใช้งาน เป็นทีม พร้อมกันได้แบบ real-time (แผนแบบ Team ขึ้นไป)
ราคา:
ใช้ฟรี 10 โปรเจค
ตัวเลือกในการอัปเกรด:
Pro: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $19 ต่อเดือน
Business: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $67 ต่อเดือน
Team: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $149 ต่อเดือน
9. Animaker
ชื่อก็บอกใบ้อยู่แล้วว่าเกี่ยวกับอนิเมชั่น จริงๆ แล้วเครื่องมือนี้จะเน้นสำหรับสร้างวิดีโออนิเมชั่นในแบบต่างๆ แต่เครื่องมือนี้ก็สามารถช่วยทำอินโฟกราฟฟิคแบบเคลื่อนไหวได้ด้วย ในเว็บมีคลังและเทมเพลตรูปภาพและอนิเมชั่นให้เลือกใช้ในอินโฟกราฟฟิคได้จำนวนมาก
ข้อสังเกต:
– ความคม ชัดระดับ HD
– ดีไซน์ ไม่ร่วมสมัย นัก
– บัญชีฟรี จะมี เทมเพลต ให้เลือกใช้ไม่มาก
ราคา:
ใช้ฟรี แต่มีลายน้ำ
ตัวเลือกในการอัปเกรด:
Starter: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $35 ต่อเดือน
Business: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $79 ต่อเดือน
10. BeFunky
BeFunky เป็นเครื่องมือตกแต่งรูปภาพและดีไซน์อินโฟกราฟฟิคสำหรับมือใหม่ แม้ว่าจะเน้นวิธีการตกแต่งรูปภาพเป็นหลัก แต่เว็บไซต์นี้ก็มีเทมเพลตอินโฟกราฟฟิครวมอยู่ด้วยเช่นกัน การใช้งานเป็นลักษณะของการ Drag & Drop ทำให้ใช้งานง่าย
ข้อสังเกต:
– เหมาะ เมื่อต้อง ทำชาร์ต หรือ อินโฟกราฟฟิค ที่เน้นรูปถ่ายเยอะๆ
– อาจไม่เหมาะ สำหรับคน ที่ ไม่มีพื้นฐาน ด้านการดีไซน์ เนื่องจากมี เทมเพลต ให้เลือกน้อยเกินไป
– ฟีเจอร์ไม่เยอะนัก แต่โดยรวมใช้งานง่าย
ราคา:
ใช้ฟรี
ตัวเลือกในการอัปเกรด:
BeFunky Plus: เลือกจ่ายแบบรายเดือนที่ $6.99 ต่อเดือน
7 ขั้นตอนการสร้างอินโฟกราฟิก
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ Infographic กำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เพราะ Infographic ทำให้ผู้อ่านสามารถรับรู้ข้อมูลได้รวดเร็ว และเข้าใจง่ายจากการแปลงข้อความมากมายให้ออกมาเป็นภาพ วันนี้จึงมาแนะนำ 7 ขั้นตอนในการทำ Infogaphic ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย สวยงาม และยังสามารถรับรู้ข้อมูลได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย
1.ทำความเข้าใจจุดประสงค์ในการทำ
ในการทำ Infographic เป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้จัดทำจะต้องเข้าใจจุดประสงค์ในการจัดทำ ซึ่งควรตอบคำถามนี้ให้ได้ว่า ทำไมต้องทำ ทำเพื่ออะไร และนำเสนอที่ไหน เพื่อเป็นการวางขอบเขตให้กับรูปแบบหรือหน้าตา Infographic ที่นำเสนอออกมา เช่น เพื่ออธิบายข้อมูลสถิติ เพื่ออธิบายสินค้าและบริการที่มีทั้งหมดในบริษัท เป็นต้น
2.วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การรับรู้เนื้อหาแตกต่างกันด้วย ดังนั้น ผู้จัดทำจึงต้องออกแบบหน้าตา Infographic ให้เหมาะสมกับการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่มาฟังเนื้อหาการสอน อาจจะต้องออกแบบให้มีสีสันที่ดึงดูดใจ ให้สายตาอยู่กับเนื้อหาได้นาน แต่ถ้าหากเป็นลูกค้า ซึ่งมีความเร่งรีบ ต้องการเข้าใจข้อมูลอย่างรวดเร็ว ก็จะต้องออกแบบให้เนื้อหาเข้าใจง่าย กระชับ เป็นต้น
3.กำหนดหัวข้อ และรวบรวมข้อมูล
เมื่อรู้ว่าเราทำไปทำไม เพื่อใคร และนำเสนอที่ไหนแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการกำหนดหัวข้อที่ต้องการจะนำเสนอ เราควรกำหนดหัวข้อที่จำเป็นเท่านั้น ส่วนใดไม่เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องนำมาแสดงด้วย เนื่องจากจะทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจว่าต้องการโฟกัสในส่วนใด แล้วจึงรวบรวมข้อมูลทั้งหมด
4.จัดลำดับข้อมูล
เมื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดได้แล้ว ลำดับต่อมาคือการนำข้อมูลมาจัดลำดับว่าข้อมูลใดควรนำเสนอ ก่อน-หลัง ข้อมูลใดสำคัญที่สุด และสำคัญรองลงมา หรือข้อมูลใดควรนำเสนอก่อน เพราะมีผลต่อการนำเสนอข้อมูลในส่วนถัดมา เป็นต้น เพื่อจัดลำดับการรับรู้ของผู้อ่านให้เข้าใจง่ายที่สุด
5.สร้างสตอรี่
อีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ และหลายๆ คนมักจะมองข้าม คือการค้นหาวิธีการเล่าเรื่อง การทำ Infographic ที่ดี จะต้องสร้างสตอรี่ หรือค้นหาวิธีการนำเสนอข้อมูลเหล่านั้นให้เข้าใจง่าย และน่าสนใจ เช่น ต้องการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบริษัท เราอาจจะนำเสนอเป็นแบบ Timeline เพราะเป็นการเล่าเรื่องที่ทำให้เห็นจุดเกิดของเหตุการณ์ต่างๆ ในแต่ละข่วงเวลานั้นๆ เห็นภาพได้อย่างต่อเนื่อง และเข้าใจได้ง่าย หรือต้องการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่มีทั้งหมดของบริษัท อาจจะนำเสนอในรูปแบบ Flowchart แยกให้เห็นองค์ประกอบต่างๆ ของบริษัทได้ชัดเจน และรับรู้ได้อย่างรวดเร็วในภาพๆ เดียว
6.ออกแบบจัดทำ
เมื่อเราได้วิธีการเล่าเรื่องแล้ว ก็นำมาสู่ขั้นตอนในการออกแบบหน้าตาของ Infographic ซึ่งหัวใจของ Infographic คือการแปลงข้อมูลตัวอักษร ออกมาให้เป็นรูปภาพ ดังนั้น ในการออกแบบจึงจำเป็นจะต้องออกแบบภาพให้เข้าใจง่าย และสื่อความหมาย ไม่ควรใช้ภาพที่มีรายละเอียดมากจนเกินไป เนื่องจากจะทำให้ยากต่อการจดจำ ซึ่งรูปแบบภาพที่เป็นที่นิยม คือการใช้ไอคอน หรือภาพกราฟิกที่ไม่ซับซ้อน ในการสื่อความหมาย และใช้สีในการออกแบบไม่เยอะจนเกินไป ประมาณ 3-4 สี เท่านั้น
7.เผยแพร่
ในการเผยแพร่ Infographic ในปัจจุบันก็มักจะนำเสนอในรูปแบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเข้าถึงได้ง่าย สามารถ Like หรือ Share ข้อมูลไปได้อย่างรวดเร็วผ่านทาง Social Media ดังนั้น เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ ควรมีการตั้ง Caption หรือคำโปรยภาพให้น่าสนใจ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาดูเนื้อหานั่นเอง เพียงเท่านี้ข้อมูลมากมายของคุณ ก็จะกลายเป็น Infographic ที่น่าสนใจ ทำให้การนำเสนอข้อมูลไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่ออีกต่อไป รับทำ graphic